สวัสดีครับทุกท่าน หลังจากการบริจาคข้าวสาร น้ำดื่ม อาหารแห้ง กิจกรรม "ด้วยรักและห่วงใยปันน้ำใจสู่พิจิตร" ครั้งที่ 4 แล้ว วันนี้ผมดีใจมากที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่พร้อมๆ กัน 3 ฐานะ คือ 1) ฐานะที่เป็นคนพิการและอยากให้คนพิการได้ทราบสิทธิ์ของตนเองตามกฎหมาย 2) ฐานะที่ทำงานในนาม บจก.พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ ที่ขับเคลื่อน และ 3) ในฐานะคัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการดำรงชีวิตประชาชนรอบเหมืองทองคำ อาจทำให้ต้องกลายเป็นคนพิการ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ความรับผิดชอบในเรื่องคนพิการรอบเหมืองทองคำ มีผู้ประกอบการรู้ไม่มาก ในการเข้าถึงสิทธิ์คนพิการ ดังนั้นการที่คนพิการทราบถึงสิทธิ์ตนเอง จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
ก่อนหน้าที่จะถึงวันที่ 15 ก.พ.59 ผมได้ทำหนังสือถึง พัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัดพิจิตร (พมจ.พิจิตร) ให้ช่วยส่งเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้เรื่องสิทธิ์คนพิการต่างๆ ที่มากกว่าเงินเบี้ยยังชีพ 800 บาท ที่บ้านเลขที่ 9 ม.3 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เมื่อคนพิการทราบถึงสิทธิ์โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
วันนี้ครึกครื้นมาก เพราะในระหว่างที่จะเริ่มให้ความรู้สิทธิ์คนพิการ ก็มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ทั้งหมด 5 หน่วยงาน ดังนี้
ในความคิดของผมนั้น ความพิการที่น่าสนใจคือ ความพิการที่มีมาแต่กำเนิด และความพิการภายหลัง สำหรับพื้นที่รอบเหมืองทองคำนั้น น่าสนใจทั้ง 2 กลุ่ม คือ ทำไมอยู่ดีๆ คนดีๆ ที่ไม่ได้รับอุบัติเหตุแล้วเป็นคนพิการเหมือนพื้นที่อื่น ทำไมถึงกลายเป็นคนพิการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่วนเด็กที่เกิดใหม่แล้วกลายเป็นคนพิการเพราะมีเซลล์ที่เปลี่ยนแปลง ก็น่าสนใจ เพราะอาจจะเกิดจากสารพิษก็เป็นได้ แล้วกระทรวงสาธารณสุข ทำอะไรอยู่ ทำไมไม่เข้ามาศึกษาผลกระทบตาม "แนวทางของระบาดวิทยา"
ในช่วงเย็น ทางผมและบริษัท พีดับบลิวดีฯ ก็จะเดินทางไปยังพื้นที่ จ.พิษณุโลก เพื่อให้ความรู้เรื่องสิทธิ์คนพิการต่อไป
ก่อนหน้าที่จะถึงวันที่ 15 ก.พ.59 ผมได้ทำหนังสือถึง พัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัดพิจิตร (พมจ.พิจิตร) ให้ช่วยส่งเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้เรื่องสิทธิ์คนพิการต่างๆ ที่มากกว่าเงินเบี้ยยังชีพ 800 บาท ที่บ้านเลขที่ 9 ม.3 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เมื่อคนพิการทราบถึงสิทธิ์โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
ชาวบ้านกำลังรอพบ จนท.จาก พมจ.พิจิตร
เมื่อทาง คณะ พม.พิจิตร มาถึง จึงได้ทำการแนะนำ ซึ่งในครั้งนี้มี ตัวแทนจาก อบต.เขาเจ็ดลูก ตัวแทนคนพิการจากธนาคารไทยพาณิชย์ (ตัวอย่างการใช้สิทธิ์จ้างเหมาบริการตามมาตรา 35 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) และเชิญ จนท.ที่ได้รับมอบหมายมาอธิบายสิทธิ์คนพิการตามกฎหมาย ซึ่งได้รับความสนใจจากคนพิการที่มาร่วมรับฟัง
วันนี้ครึกครื้นมาก เพราะในระหว่างที่จะเริ่มให้ความรู้สิทธิ์คนพิการ ก็มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ทั้งหมด 5 หน่วยงาน ดังนี้
- จนท.ทหารระดับภาค
- จนท.ตำรวจท้องที่ สภ.ทับคล้อ
- จนท.มหาดไทย (ปลัดอำเภอทับคล้อ)
- จนท.ตำรวจสันติบาล จ.พิจิตร (ส่วนกลางมีคำสั่งลงมา)
- จนท.สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร
ในความคิดของผมนั้น ความพิการที่น่าสนใจคือ ความพิการที่มีมาแต่กำเนิด และความพิการภายหลัง สำหรับพื้นที่รอบเหมืองทองคำนั้น น่าสนใจทั้ง 2 กลุ่ม คือ ทำไมอยู่ดีๆ คนดีๆ ที่ไม่ได้รับอุบัติเหตุแล้วเป็นคนพิการเหมือนพื้นที่อื่น ทำไมถึงกลายเป็นคนพิการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่วนเด็กที่เกิดใหม่แล้วกลายเป็นคนพิการเพราะมีเซลล์ที่เปลี่ยนแปลง ก็น่าสนใจ เพราะอาจจะเกิดจากสารพิษก็เป็นได้ แล้วกระทรวงสาธารณสุข ทำอะไรอยู่ ทำไมไม่เข้ามาศึกษาผลกระทบตาม "แนวทางของระบาดวิทยา"
ในช่วงเย็น ทางผมและบริษัท พีดับบลิวดีฯ ก็จะเดินทางไปยังพื้นที่ จ.พิษณุโลก เพื่อให้ความรู้เรื่องสิทธิ์คนพิการต่อไป