ระเบียบมาตรา 35 ฉบับล่าสุด 28 พฤษภาคม 2558 ทางออกปัญหาการจ้างงานคนพิการ

ตีความมาตรา 35 และขั้นตอนการยื่นเรื่อง

กฎหมายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างงานตามมาตรา ๓๕

๑) บทบัญญัติตามมาตรา ๓๕
          ตามมาตรา ๓๕ กำหนดให้นายจ้างหรือหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการอื่นแทนการจ้างงานหรือส่งเงินเข้ากองทุน บัญญัติว่า  ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา ๓๓ หรือนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา ๓๓ และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา ๓๔ หน่วยงานของรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้นอาจให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการแทนก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ และเพิ่มเติมตามราชกิจจานุเบกษา ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ สรุปได้ ดังนี้

         ๑. หลักเกณฑ์การให้สัมปทาน ได้แก่ การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหรือทรัพย์สินใดๆ เพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ มีระยะเวลาดำเนินงานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และทรัพย์สินที่ให้สัมปทานมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนค่าจ้างซึ่งต้องจ้างคนพิการในปีนั้น  สำหรับวิธีการให้สัมปทานขององค์กรเอกชน กลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์ต้องเป็นคนพิการหรือผู้ดูแล กิจการต้องเป็นเรื่องอาชีพ เช่น
๑.๑ การให้ประโยชน์จากอาคาร สถานที่ หรือทรัพย์สินที่อยู่ในความดูแล หรือใช้ประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ
๑.๒ การให้สิทธิ์ได้จำหน่ายสินค้าหรือบริการภายใต้ลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าของหน่วยงานของรัฐ นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการ
๑.๓ การจัดสรรเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ เคเบิลทีวี ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่ประชาชนสามารถรับฟังหรือรับชมได้อย่างแพร่หลาย และให้หมายความรวมถึงการจัดสรรพื้นที่ในเว็บไซต์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
๑.๔ การให้สัมปทานอื่นๆ ตามี่คณะอนุกรรมการประกาศกำหนด
การให้สัมปทานนั้น หน่วยงานของรัฐอาจดำเนินการภายในองค์กรหรือภายนอกองค์กรซึ่งหน่วยงานของรัฐมีสิทธิครอบครองหรือใช้ประโยชน์โดยการเช่าก็ได้ โดยให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือผู้ซึ่งมีอำนาจอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากอาคาร สถานที่ หรือทรัพย์สินแห่งนั้นเป็นผู้อนุญาต และลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างหน่วยงานของรัฐกับคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ
การใช้สิทธิในสัมปทานของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
การให้ใช้สิทธิในสัมปทานต้องมีระยะเวลาตามสัญญาต้องไม่น้อยกว่า ๑ ปี กรณีการให้ใช้สิทธิในสัมปทาน มีระยะเวลาตามสัญญามากกว่า ๑ ปี ให้หน่วยงานดำเนินการตรวจสอบและคำนวณมูลค่าการให้สิทธิในสัมปทานเป็นรายปี

๒.  การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ ต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๒.๑ ตั้งอยู่ในสถานที่ซึ่งเห็นได้ง่าย และสะดวกต่อการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ
๒.๒ มีสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกที่คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
๒.๓ มีสิ่งปลูกสร้างสำหรบใช้เป็นสถานที่จำหน่ายสินคาที่มั่นคง ปลอดภัย โดยหน่วยงานของรัฐ
นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการมีสิทธิครอบครองในสถานที่แห่งนั้น
๒.๔ มีขนาดพื้นที่เหมาะสมตามประเภทกิจการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ
๒.๕ ได้รับการยกเว้นค่าเช่าพื้นที่และค่าใช้จ่ายอันที่เกี่ยวข้องตามที่คู่สัญญาตกลงกัน
๒.๖ ช่วงเวลาการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการให้เป็นไปตามเวลาเปิดและปิดทำการปกติ ของหน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบการแห่งนั้น หรือตามที่คู่สัญญาตกลงกัน
๒.๗ การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการต้องมีมูลค่าการดำเนินงานไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน  และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
การคำนวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามอัตราอ้างอิงราคาในทองตลาด  กรณีไม่มีราคาตามท้องตลาดมาอ้างอิงให้เป็นไปตามอัตราที่ผู้รับการประเมินยื่นแบบการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นแห่งนั้น  หรือตามอัตราที่คณะอนุกรรมการหรือคณะอนุกรรมการส่งเสริม  และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดประกาศกำหนด
กรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการได้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการให้เช่าอาคาร  สถานที่  หรือมีหลักฐานการให้เช่าจากผู้เช่ารายอื่นมาแสดงก็ให้นำอัตราค่าเช่านั้นมาคำนวณมูลค่าตามวรรคสอง
การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการต้องมีระยะเวลาการดำเนินงานตามสัญญาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี  หากมีระยะเวลาตามสัญญามากกว่าหนึ่งปี  ให้หน่วยงานดำเนินการตรวจสอบ  และคำนวณมูลค่าการจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการเป็นรายปี
กรณีหน่วยงานของรัฐ  ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีอำนาจอนุญาตภายใต้เงื่อนไขให้ใช้อาคาร       หรือสถานที่ของหน่วยงานของรัฐที่ได้กำหนดไว้  โดยได้รับการยกเว้นค่าเช่าและค่าธรรมเนียมอื่นและมีระยะเวลาตามสัญญาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ให้หน่วยงานของรัฐ  นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนและติดตามผลการปฏิบัติเพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการสามารถดำเนินกิจการจำหน่ายสินค้าหรือบริการได้

๓.  การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือการจ้างเหมาบริการ ต้องมีลักษณะและเงื่อนไข  ดังต่อไปนี้
๓.๑ เป็นการจ้างคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรง
๓.๒ เป็นการจ้างที่มีลักษณะมุ่งผลสำเร็จของงานที่ว่าจ้างภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา หรือข้อตกลง         เช่น  การรักษาความสะอาด  งานความปลอดภัย  งานสวน  งานศึกษาวิจัย  งานสำรวจ  งานติดตามประเมินผล งานข้อมูล  งานพิมพ์  งานผลิตเอกสาร  งานผลิตสื่อประชาสัมพันธ์  งานผลิตสินค้า  หรือบริการ  งานก่อสร้าง หรืองานปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก  เป็นตน  หรือลักษณะอื่นตามที่คณะอนุกรรมการประกาศกำหนด
๓.๓ ผู้ว่าจ้างต้องจดทำเอกสารแนบท้ายสัญญาที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการประมาณการด้านต้นทุน  ค่าใช้จ่ายในการจัดการ  และกำไรเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานจัดหางานกรุงเทพ หรือ จัดหางานจังหวัด
๓.๔ กรณีหน่วยงานของรัฐ  ก่อนดำเนินการตามวรรคหนึ่ง  ในแต่ละปีให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ มอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกำหนดลักษณะงานที่เหมาะสมภายในองค์กรเพื่อมอบให้คนพิการหรือผู้ดูแล   คนพิการทำแทนได้  และจัดสรรงบประมาณตามวงเงินที่กำหนดแล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุของหน่วยงาน แห่งนั้นติดต่อกับผู้รับจ้างเป็นรายกรณีโดยตรงเพื่อเสนอให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นเป็นผู้มีอำนาจอนุมติ และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและคณะกรรมการตรวจรับการจ้างตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นโดยวิธีกรณีพิเศษ
การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือการจ้างเหมาบริการของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดจำนวนคนพิการ  ที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน  และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของ สถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

          การคำนวณมูลค่าของสัญญา ให้กระทำได้ ๒ กรณี ดังนี้
๑)      กรณีกำหนดให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ หรือเงินลงทุนตามลักษณะของงานที่จ้าง ให้พิจารณาเฉพาะในส่วนที่เป็นกำไรที่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการจะได้รับเมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างในปีนั้น
๒)      กรณีกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการเป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ หรือเงินทุนตามลักษณะของงานที่จ้าง ให้พิจารณาเฉพาะในส่วนที่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าแรงงานที่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้รับเมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างในปีนั้น
กรณีหน่วยงานของรัฐให้กำหนดวงเงินตามสัญญาหรือข้อตกลงที่จะจ้างในแต่ละครั้ง  โดยพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสม  ตามลักษณะของงานและจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน
ระยะเวลาของสัญญาจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการ  ให้เป็นไปตามที่คู่สัญญาตกลงกัน หากมีระยะเวลามากกว่าหนึ่งปี  ให้หน่วยงานดำเนินการตรวจสอบและคำนวณมูลค่าตามสัญญาเป็นรายปี
กรณีหน่วยงานของรัฐอาจดำเนินการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ  โดยให้ดำเนินการภายในปีงบประมาณและในกรณีที่มีข้อตกลงให้จ้างต่อเนื่อง  ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่  ๑  ตุลาคมของแต่ละปีได้
ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งหัวหน้าหน่วยงานสำนักงานจัดหางานกรุงเทพ หรือ จัดหางานจังหวัด  พร้อมส่งสำเนาสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้าง  ภายใน  ๓๐  วัน  นับแต่วันที่มีการเข้าทำสัญญาดังกล่าว

๔. การฝึกงาน แก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการต้องมีลักษณะและเงื่อนไข  ดังต่อไปนี้
๔.๑ หลักสูตรการฝึกงานต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเพิ่มพูนความรู้  ทักษะ  ประสบการณ์  ความชำนาญ        การถ่ายทอดวิทยาการ  เทคโนโลยี  หรือองค์ความรู้ต่าง  ๆ  เพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
๔.๒ ระยะเวลาฝึกงานต้องไม่น้อยกว่าหกเดือน  ทั้งนี้  ต้องไม่น้อยกว่าหกร้อยชั่วโมง  หรือตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นเห็นสมควรและมีการมอบวุฒิบัตรที่ออกโดยหน่วยงานที่รับฝึกงานแก่ผู้ผ่านการฝึกงานด้วย
๔.๓ หลักสูตรการฝึกงานของนายจ้างหรือสถานประกอบการต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานหรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย   แล้วแต่กรณี  เว้นแต่หลักสูตร  ของเอกชนซึ่งได้รับการเห็นชอบจากทางราชการแล้วไม่ต้องขอความเห็นชอบตามระเบียบนี้อีก  โดยก่อนดำเนินการให้ผู้แทนนายจ้างหรือสถานประกอบการเสนอเรื่องต่ออธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
๔.๔ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการอาจจัดฝึกงานเอง  หรือมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนเป็นผู้จัดฝึกงานแทนก็ได้  โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฝึกงาน  เช่น  ค่าสถานที่ฝึก  ที่พัก  วัสดุอุปกรณ์ เอกสาร  วิทยากร  ค่าพาหนะ  และให้จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าอาหารแก่ผู้เข้ารับการฝึกงานตามที่ตกลงกัน  ทั้งนี้  การฝึกงานในสถานประกอบการให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้รับเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน  และมิให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายใด  ๆ  จากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ  กรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนเป็นผู้จัดฝึกงาน ให้ส่งสำเนาสัญญาหรือข้อตกลงแก่หน่วยงานสำนักงานจัดหางานกรุงเทพ หรือ จัดหางานจังหวัด ยกตัวอย่างเช่น บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ซึ่งมีสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มีความประสงค์จะจัดฝึกงาน-ฝึกอบรมคนพิการด้าน ICT ตามมาตรา ๓๕ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงาน จำนวน ๘๐ คน งบประมาณจาก ๘๐ คน x ๑๐๘,๐๐๐ บาท เท่ากับ ๘,๖๔๐,๐๐๐ บาท (แปดล้านหกแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
๔.๕ หน่วยงานของรัฐอาจจัดฝึกงานเองหรือจะสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยงานของรัฐอื่นหรือเอกชนเป็น ผู้จัดฝึกงานแทนก็ได้  ซึ่งต้องไม่ใช่ภารกิจตามปกติของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น  โดยให้หน่วยงานของรัฐ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฝึกงาน  เช่น  ค่าสถานที่  ที่พัก  วัสดุอุปกรณ์  เอกสารวิทยากร  ค่าพาหนะ  และค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าอาหารแก่ผู้เข้ารับการฝึกงาน  ทังนี้  ให้นำระเบียบว่าด้วยการฝึกอบรมของส่วนราชการมาใช้บังคับ โดยอนุโลม
ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการแจ้งจำนวนและรายชื่อคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ วิทยากร  และรายการค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรส่งให้หัวหน้าหน่วยงานสำนักงานจัดหางานกรุงเทพ หรือ จัดหางานจังหวัด  เพื่อดำเนินการตรวจสอบและให้ความเห็นชอบก่อนการฝึกงาน
การฝึกงานต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงานและจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

          ๕. หลักเกณฑ์การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ การจัดให้มีอุปกรณ์หรืสิ่งำนวยความสะดวกต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๕.๑ หน่วยงานของรัฐ นายจ้างหรือสถานประกบการแห่งนั้นได้รับลูกจ้างคนพิกา ซึ่งมีความ ต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลืพื่อให้สามารถทำงานได้
๕.๒ น่วยงานของรั นายจ้างหรือสถานประกบการแห่นั้ จัห้มีอุปกรณ์รืสิ่วยความะดกให้แก่น่วยงานของรันายจ้างหรือสถานประกอบการซึ่มีคนพิการเข้าทำงาน ป็นลูกจ้าง
๕.๓ การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ การจัดให้มีขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงสิ่งปลูกสร้ หรืสิ่ำนวยความสะดวกแก่คนพิกา โดยำเนินการในสถานที่งหน่วยงานของรันายจ้างหรืจ้าของประกบการซึ่งรับคนพิการเข้าทำงา ทั้งนี้  ตามรายการที่กำหกฎกระที่ออกตามกฎหมา ว่าด้วยกรควบคุมาคารืฎกะทรวที่ออกตามกฎหมายว่ด้วยการส่งเสริและพัฒนคุณภาพชีวิตคนพิกาเว้นแต่ไม่มีการกำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวให้ป็นไปตามที่ คณะอนุกรรมการประกาศกำหนด
๕.๔ มิใช่อุปกรณ์หรือสิ่ำนวยความสะดวกที่อาคารนักงานแห่งนั้นต้องอยู่ภายใต้บังคั
ของกฎกระทรวง
๕.๕ ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน ปี
ก่อนเริ่ำเินการ ห้หน่วยงานของรั จ้ รือเจ้าของสถานประกอบกา ำเนินการสำรวจและออกแบบเกี่ยวกับการจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่ำนความสะดวกก่คนพิการและเสนอแผนงานโครงการที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการอุปกรณ์  ประมาณการ่าใช้จ่ายวงเงินงบประมาณและประโยชน์ ที่ คาดว่าจะได้รับ โดยื่วหาหวยงานสำนักงานจัดหางานกรุงเทพ หรือ จัดหางานจังหวัด พื่อตรวจสอบและให้ความเห็นชอบ
การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่ำนความสะดวกก่คนพิการของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดจำนวนคนพิการ ทีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน คูณด้วยค่าแรงขั้นต่ำ (รายเดือน) ครบ ๑ ปี และตรงกับจำนวนยอดเงินรวมที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กรณีน่วยงนของรั การพิจารณงเงิำหรับการจัห้มีอุปกรณ์รืสิ่ำนวยความสะดวก
สำหรับคนพิการให้พิจารณาตามความำเป็นและเหมาะสมเพื่อให้คนพิการเข้ถึงและใช้ประโยชน์ได้

          ๖. หลักเกณฑ์การจัดให้มีล่ามภาษามือ ได้แก่ การจัดให้มีบริการล่ามภามืต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๖.๑ ่วยงานของรั จ้ รืจ้สถนปอบห่นั้มีคนพิการซึ่งความต้การ
ำเป็พิเศษที่จะต้องใช้ริการล่ามภามืพื่อสนับสนุนหรืพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้สามารถสื่อสาร
กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานได้ย่างมีประสิทธิภาพ
๖.๒ การจัดให้มีล่ามภาษามือในสัส่วนหนึ่งคนต่อคนพิการทางการได้ยินหรืสื่อความหมายยี่สิบคน
โดยก่อนเริ่ำเนินการ ห้น่วยงานของรั นายจ้างรือเจ้าของสถานประกอบการดำเนินกรสำรจคามต้องการำเป็พิเศษเฉพาะบุคคลเกี่ยวกับการให้บริการล่ามภาษามือและสนอแผนงานโครงการที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับประมาณการค่าใช้จ่า วงเงินงบประมา และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับต่หัวหน้าหน่วยงาน
การจัดให้มีบริการล่ามภาษามือของนายจ้างหรือเจ้าของสานประกบการต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดจำนวนคนพิการ ทีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้าง  หรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการต่อการจ้างล่ามภาษามือหนึ่งคน
กรณีหน่วยงานของรัฐ ให้กำหนดวงเงินในการจัดให้มีล่ามภาษามือให้พิจารณาตามความจำเป็น และเหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคนพิการ

          ๗. หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลืออื่นใด ได้แก่
หน่วยงานของรัฐ  นายจ้าง  หรือเจ้าของสถานประกอบการอาจให้การสนับสนุน  ด้านการเงินวัสดุ  อุปกรณ์  ครุภัณฑ์  เครื่องมือ  หรือทรัพย์สินอื่น  รวมทั้ง  การซื้อสินค้าจากคนพิการ  หรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ประกอบอาชีพ  ฝึกอาชีพ  เตรียมความพร้อมในการทำงาน  หรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพ  การมีงานทำ  หรือการมีรายได้ของคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการตามความจำเป็น  หรือการให้ความช่วยเหลืออื่นใดที่คณะอนุกรรมการประกาศกำหนด
การให้ความช่วยเหลืออื่นใดต้องมีมูลค่าการดำเนินงานตามสัญญาหรือข้อตกลงไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน  และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
การซื้อสินค้าหรือบริการจากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรงต้องให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการมีกำไรจากการขายสินค้าหรือบริการไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับคนพิการเข้าทำงาน  และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
การคำนวณมูลค่าตาม ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการแสดงหลักฐาน รายการค่าใช้จ่ายเพื่อประกอบการพิจารณา  แล้วให้แจ้งกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด  แล้วแต่กรณีภายใน  ๓๐  วัน  นับแต่วันที่มีการดำเนินการเสร็จสิ้น  เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

๒) ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ
    ๒.๑ ขั้นตอนการแสดงความจำนงค์
          หน่วยงานของรัฐ/สถานประกอบการ และคนพิการหรือองค์กรคนพิการแจ้งความจำนง โดยยื่นคำขอใช้สิทธิที่กรมการจัดหางาน หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่เพื่อให้มีการจัดปรึกษาหารือระหว่างผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้มีการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิที่จะขอรับความช่วยเหลือโดยตรงจากหน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบการ
เอกสารที่ต้องใช้:
๑. แบบแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา ๓๕ ลงทะเบียนสำหรับคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ (กกจ.พก.1)
๒. แบบแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา ๓๕ ลงทะเบียนสำหรับองค์กรธุรกิจ/ภาครัฐ (กกจ.พก.2)
ติดต่อ:   ลงทะเบียนที่สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด เริ่ม ๑ ตุลาคม
๓๑ มกราคมของทุกปี
    ๒.๒  ขั้นตอนการอนุมัติในการดำเนินงานตามมาตรา ๓๕ 
           (๑)  ให้หน่วยงานของรัฐ/ สถานประกอบการ และคนพิการหารือแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามมาตรา ๓๕ จนได้ข้อสรุปและลงนามในสัญญาตามแบบที่กระทรวงแรงงานกำหนด
           (๒)  ให้หน่วยงานของรัฐ/ สถานประกอบการเสนอสัญญาและหรือกิจกรรมให้สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดดำเนินการพิจารณาตรวจสอบว่าเป็นไปตามระเบียบหรือไม่ หรือจะมีข้อเสนอแนะอย่างไร แล้วอนุมัติเริ่มดำเนินกิจกรรมตามข้อสัญญา(ภายในปีที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย)
เอกสารที่ต้องใช้: สัญญาการสนับสนุน (สัมปทาน, จัดจ้างเหมาช่วง, การฝึกงาน)ตามแบบที่กระทรวงแรงงานกำหนด
ติดต่อ:   ผลการอนุมัติจากสำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด เพื่ออนุมั
ภายในวันที่ ๓๑ มกราคมของปีถัดไป
   ๒.๓  ขั้นตอนการติดตามรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรา ๓๕
          หน่วยงานของรัฐ/สถานประกอบการรายงานผลพร้อมแนบสัญญาตามแบบที่กระทรวงแรงงานกำหนด ไปยื่นต่อกรมการจัดหางาน หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่จากนั้นหน่วยงานของกรมการจัดหางานแจ้ง พก.หรือ พมจ.เพื่อยืนยันผลการปฏิบัติ(หลังจากดำเนินการตรวจสอบผ่านแล้ว)  เอกสารที่ต้องใช้: แบบรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา ๓๕
ติดต่อ: สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดดำเนินการตรวจประเมิน
โดยรายงานภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคมของทุกปี ในภาคผนวก ค
          สำหรับกรณีที่ ๔ การ “ฝึกงาน” จะมีขั้นตอนที่เพิ่มเติมขึ้นมา คือ ก่อนการยื่นเรื่องแสดงความจำนงขอใช้สิทธิ์ตามมาตรา ๓๕ แบบฟอร์ม กกจ.พก.๑ และ กกจ.พก.๒ นั้น ต้องมีการยื่นเรื่องขออนุมัติหลักสูตรสำหรับการฝึกงานจากกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน (ส่วนกลาง) หรือในระดับพื้นที่ให้ยื่นเรื่องกับ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด และรอผลการอนุมัติ แล้วจึงนำผลการอนุมัติยื่นเรื่องประกอบการแสดงความจำนงค์ สรุปเป็นขั้นตอนสำหรับการฝึกงาน ดังนี้
๑.      ยื่นเรื่องขออนุมัติหลักสูตรที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน หรือยื่นกับผู้ว่าราชการจังหวัด และติดตามจนได้รับหนังสืออนุมัติหลักสูตร
๒.      ยื่นเรื่องขออนุมัติโครงการฯ กับสำนักจัดหางานพื้นที่ กรุงเทพมหานคร หรือกับจัดหางานจังหวัด พร้อมกับยื่นหนังสือการอนุมัติหลักสูตรของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน กับศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด จนได้รับหนังสืออนุมัติหลักสูตรในระดับพื้นที่จังหวัด และติดตามจนได้รับหนังสืออนุมัติโครงการ
๓.      ยื่นเรื่องแสดงความประสงค์ในการขอใช้มาตรา ๓๕ ไปยังกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

๔.      ดำเนินการฝึกงาน-ฝึกอบรมฯ ตามแผนที่ได้ยื่นเรื่องในขั้นตอนที่ ๓



การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อขจัดปัญหาการจ้างคนพิการ ครั้งที่ 2-5 (ข้อมูลคลิ๊กภาพ)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาธุรกิจสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 2 (อ่านข้อมูลคลิ๊กภาพ)

บริษัท PWDOM จำกัด รับสมัครคนพิการจำนวน 6 คน (สนง. 2 คน, สำรวจ 4 คน)

ประกาศรับสมัครคนพิการเข้าทำงานตำแหน่งด้านไอที

ประกาศรับสมัครคนพิการเข้าทำงานตำแหน่งด้านไอที

เชิญคนพิการทุกท่านที่ต้องการมีงานทำ เข้าสัมภาษณ์ สอบถามเพิ่มเติมที่นายปรีดา ลิ้มนนทกุล 086-314-7866

http://ict4pwds.blogspot.com/