กิจกรรมสัญจรบรรยาย “จริงใจไม่ละเมิดสิทธิ์คนพิการ”
ครั้งที่ 1-9
และการประชาสัมพันธ์โครงการ “Workable พิการแต่ทำงานได้” เพื่อการมีงานทำในปี พ.ศ.2560
สิทธิ์คนพิการและผู้ดูแลคนพิการตามมาตรา
33 และ 35 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
ภายใต้โครงการ “PWD FORWARD 2016-2020” เพื่อขจัดปัญหาการจ้างงานคนพิการแบบองค์รวม
ความเป็นมา:
ปัจจุบันผู้ประกอบการทั่วประเทศ
ประสบปัญหาการจ้างงานคนพิการตามกฎหมายมาตรา 33
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
ที่กำหนดไว้ตามสัดส่วน 100 ต่อ 1 มีจำนวนรวมมากถึงกว่า 6 หมื่นตำแหน่ง
จากหลายสาเหตุเช่น คุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
สถานที่ยังไม่เหมาะต่อการทำงานของคนพิการ เจตคติที่มีต่อคนพิการในด้านการทำงาน
ความพร้อมของคนพิการ เป็นต้น ทำให้ทางออกของผู้ประกอบการที่ควรนำมาแก้ปัญหา คือ
การปฏิบัติตามมาตรา 35 ที่กำหนดให้มีหลายทางเลือก เช่น
การให้ใช้สถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ การฝึกงานฝึกอบรม การจ้างเหมาบริการ การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
ของผู้ประกอบการ เป็นต้น
บริษัท
พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทไม่แสวงกำไร
ดำเนินการด้านการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ และพัฒนาอาชีพคนพิการ
รวมถึงการบริหารจัดการแก้ปัญหาการจ้างงานให้กับผู้ประกอบการ จากประสบการณ์กว่า 8
ปี จึงริเริ่มโครงการระยะยาว 5 ปี
เพื่อมุ่งมั่นแก้ปัญหาการจ้างงานคนพิการแบบองค์รวมอย่างเป็นระบบ
ภายใต้ชื่อโครงการหลัก “PWD FORWARD 2016-2020” และมีโครงการย่อยอีก
10 โครงการ ซึ่งรวมถึง การกิจกรรมสัญจร บรรยาย “จริงใจไม่ละเมิดสิทธิ์คนพิการ”
เพื่อรณรงค์บรรยายการเข้าถึงสิทธิ์คนพิการและคนดูแลคนพิการ ในพื้นที่ต่างจังหวัด
เพื่อชี้แจง อธิบาย ให้ทราบถึงสิทธิ์ต่างๆ ตามกฎมาย
อีกทั้งเป็นการสำรวจความต้องการใช้สิทธิ์ตามมาตรา 33 และมาตรา 35 ที่ทางบริษัท
พีดับบลิวดีฯ เนื่องจากพบว่า
คนพิการและผู้ดูแลคนพิการไม่ทราบสิทธิ์ตนเองเป็นจำนวนมาก
และถูกละเมิดสิทธิ์หลากหลายรูปแบบวิธีการ หากการจัดกิจกรรมสัญจร
สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ผู้เข้ารับการฟังบรรยาย และซักถาม
จะได้มีความมั่นใจเมื่อกำลังจะถูกละเมิดสิทธิ์ และลุกขึ้นมาตัดสินใจเลือกทางเดินของตนเองได้อย่างมีความมั่นใจ
ในเกียรติและศักดิ์ศรีองความเป็นมนุษย์ สู่การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมไทยต่อไป
วัตถุประสงค์:
1.
เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิ์คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ
ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสิทธิ์ในการประกอบอาชีพ และการจ้างงานคนพิการ
2.
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ “Workable พิการแต่ทำงานได้” ของบริษัท พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ จำกัด และโครงการฝึกอบรมฝึกงาน
“หลักสูตรพัฒนานักวิสาหกิจเพื่อสังคม” ของ GLab คณะโลกคดีศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ และ
3.
เพื่อเป็นการสำรวจ รวบรวม ข้อมูลรูปแบบการละเมิดสิทธิ์คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ
และนำส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานประกอบการ
(เจ้าของโควต้าที่ต้องจ้างคนพิการ) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุรภาพชีวิตคนพิการ
กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย:
การจัดกิจกรรมสัญจรฯ
ดังกล่าว จะจัดขึ้นประมาณ 8-10 ครั้ง ในระดับพื้นที่ ตามต่างจังหวัดทั่วประเทศ กับกลุ่มเป้าหมายสำคัญ
4 กลุ่ม ดังนี้
1.
คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ
ที่ยังต้องการการพัฒนาตนเองให้มีความรู้พื้นฐาน และเพียงพอต่อการเข้าทำงานกับสถานประกอบการ
หรือประกอบอาชีพอิสระได้จริง
2.
คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ที่มีความรู้พื้นฐานแล้ว
มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพอิสระมาบ้างแล้ว หรือมีไอเดียทางธุรกิจ
และต้องการพัฒนาตนเองจนเป็นนักธุรกิจเพื่อสังคม
3.
ผู้นำชุมชน หรือผู้นำคนพิการ ที่พิการ
หรือไม่พิการ ที่มีความตั้งใจจะเรียนรู้เรื่องสิทธิ์คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ตามกฎหมาย
พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
4.
บุคคลทั่วไป หรือผู้เกี่ยวข้อง หรือองค์กร
ที่ทำงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพคนพิการ
กิจกรรมสัญจรบรรยาย “จริงใจไม่ละเมิดสิทธิ์คนพิการ”
ครั้งที่ 1-9
และการประชาสัมพันธ์โครงการ “Workable พิการแต่ทำงานได้” เพื่อการมีงานทำในปี พ.ศ.2560
สิทธิ์คนพิการและผู้ดูแลคนพิการตามมาตรา
33 และ 35 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
ภายใต้โครงการ “PWD FORWARD 2016-2020” เพื่อขจัดปัญหาการจ้างงานคนพิการแบบองค์รวม
· ครั้งที่
1:
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2559: จังหวัดนครสวรรค์
·
ครั้งที่ 2: วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม 2559: จังหวัดนครปฐม
·
ครั้งที่ 3: วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2559: จังหวัดสุพรรณบุรี (จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี มาร่วม)
·
ครั้งที่ 4: วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559: จังหวัดอุทัยธานี
·
ครั้งที่ 5: วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2559: จังหวัดกาญจนบุรี
·
ครั้งที่ 6: วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2559: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
·
ครั้งที่ 7: วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2559: จังหวัดสุรินทร์
·
ครั้งที่ 8: วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2559: จังหวัดตาก
· ครั้งที่
9:
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2559: ระหว่างประสานงานจาก 5 จังหวัด
เพื่อไปร่วมกับจังหวัด 1-8 และกำหนดจังหวัดที่ลงพื้นที่
(อาจเพิ่มจำนวนครั้งในการทำกิจกรรม ตามความเหมาะสม)
วิทยากร: นายปรีดา ลิ้มนนทกุล (กรรมการผู้จัดการ
บจก.พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์)
วิทยากรรับเชิญ
1:
ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่จากสถานประกอบการที่ร่วมโครงการ และสนับสนุนด้านอาชีพคนพิการ อย่างแท้จริงอย่างเป็นระบบ (มีความตั้งใจมุ่งมั่นอย่างมากที่ไม่ต้องการสนับสนุนระบบตัดหัวคิว)
วิทยากรรับเชิญ 2: อาจารย์จากคณะโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตรพัฒนาคนพิการให้เป็นนักธุรกิจ)
วิทยากรรับเชิญ 2: อาจารย์จากคณะโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตรพัฒนาคนพิการให้เป็นนักธุรกิจ)
ตารางเวลากิจกรรม
09.30-10.00
น. ลงทะเบียน (คนพิการ
ผู้ดูแลคนพิการ ผู้นำชุมชน นักศึกษา ผู้นำท้องถิ่น ที่สนใจร่วมโครงการ)
10.00-11.00
น. บรรยายหัวข้อ “จริงใจไม่ละเมิดสิทธิ์คนพิการ” เพื่อให้คนพิการมีความรู้และใช้สิทธิ์อย่างมีคุณค่า
11.00-12.00
น. ประชาสัมพันธ์โครงการ “Workable พิการแต่ทำงานได้” ตามมาตรา 33+35 เพื่อการมีอาชีพ
และ โครงการพิเศษ
“การพัฒนานักวิสาหกิจเพื่อสังคม” สำหรับคนพิการและผู้เกี่ยวข้องกับคนพิการ
12.00-13.00
น. พักทานอาหารกลางวัน
13.00-15.00
น. สอบถาม+ตอบข้อสงสัย เรื่องการหลอกลวง และถูกละเมิดสิทธิ์คนพิการ ที่กำลังระบาดทั่วประเทศ สัมภาษณ์คนพิการและผู้ดูแลคนพิการที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ
15.00-15.15
น. ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน/ จบกิจกรรม
หมายเหตุ: คนพิการที่เซ็นต์เอกสารกับโครงการอื่นไปแล้ว
สามารถเข้าร่วมรับฟังเพื่อความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในสิทธิ์คนพิการและผู้ดูแลคนพิการได้
ไม่จำเป็นต้องร่วมโครงการกับทางบริษัทฯ
สนใจติดต่อ: นายปรีดา ลิ้มนนทกุล086-314-7866, Facebook/preeda.limnontakul
อีเมล์ preeda.limnontakul@gmail.com
......................................................................
บทความที่เกี่ยวข้อง
................................................................................
โครงการ “PWD FORWARD 2016-2020” เพื่อขจัดปัญหาการจ้างงานคนพิการ
ตามมาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พ.ศ.2550
ความเป็นมา:
ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมาย
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
ที่ทำให้มีพัฒนาการสำคัญๆ เกิดขึ้นกับคนพิการทั่วประเทศ
โดยเฉพาะด้านสิทธิ์สำหรับคนพิการ
ส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น เข้าถึงด้านการศึกษามากขึ้น
เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงการได้รับโอกาสในการมีงานทำ
หรือการประกอบอาชีพอิสระ จากหลายแหล่งงบประมาณแยกตามหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละ กรม
กระทรวง ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงแรงงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงคมนาคม เป็นต้น
แต่กลับพบว่า
คนพิการจำนวนมากไม่ทราบถึงสิทธิ์ต่างๆ ของตนเอง อีกทั้งเจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้องอาจจะมีกำลังไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถลงพื้นที่ หรือไปให้คำแนะนำไม่ทั่วถึง
อีกทั้งการตีความตามกฎหมายที่นำไปสู่การปฏิบัตินั้น ยังเผยแพร่ไม่กว้างขวาง
ส่งผลต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ส่งผลต่อโอกาสในการสร้างอาชีพ มีรายได้
และส่งผลต่อการที่คนพิการยังคงเป็นภาระของครอบครัว และสังคมโดยรวมของประเทศชาติ
ทั้งๆ ที่มีสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายอยู่แล้ว
ดังนั้นการแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตคนพิการ
จึงควรทำทั้งระบบ ตั้งเป้าหมายที่การพึ่งพาตนเองได้ ของคนพิการและครอบครัว
โดยใช้ประโยชน์จากกฎหมายที่เอื้ออำนวยในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านสิทธิ์ ด้านการดำรงชีวิต
ด้านการสร้างรายได้ อาชีพอิสระ และการมีงานทำในระบบกับผู้ประกอบการ
ที่กำลังประสบปัญหาการจ้างงานตามมาตรา 33 ที่กำหนดไว้ตามสัดส่วน 100 ต่อ 1
ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนรวมมากกว่า 6.1 หมื่นตำแหน่ง จากหลายสาเหตุเช่น
คุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน สถานที่ยังไม่เหมาะต่อการทำงานของคนพิการ
เจตคติที่มีต่อคนพิการในด้านการทำงาน ความพร้อมของคนพิการ เป็นต้น
ทำให้ทางออกของผู้ประกอบการที่ควรนำมาแก้ปัญหา คือ การปฏิบัติตามมาตรา 35
ที่กำหนดให้มีหลายทางเลือก เช่น การให้ใช้สถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ
การฝึกงานฝึกอบรม การจ้างเหมาบริการ การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ของผู้ประกอบการ
เป็นต้น อันจะทำให้เกิดการสร้างอาชีพอิสระได้อีกทางหนึ่ง
ข้อมูลโครงการ:
บริษัท พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ จำกัด
ซึ่งเป็นบริษัทไม่แสวงกำไร ดำเนินการด้านการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ
และพัฒนาอาชีพคนพิการ รวมถึงการบริหารจัดการแก้ปัญหาการจ้างงานให้กับผู้ประกอบการ
จากประสบการณ์กว่า 8 ปี จึงริเริ่มโครงการระยะยาว 5 ปี เพื่อมุ่งมั่นแก้ปัญหาการจ้างงานคนพิการแบบองค์รวมอย่างเป็นระบบ
ภายใต้ชื่อโครงการหลัก “PWD
FORWARD 2016-2020” และมีโครงการย่อยอีก 10 โครงการ ดังนี้
1.
กิจกรรมสัญจร บรรยาย “จริงใจไม่ละเมิดสิทธิ์คนพิการ”
เพื่อรณรงค์บรรยายการเข้าถึงสิทธิ์คนพิการและคนดูแลคนพิการ ในพื้นที่ต่างจังหวัด
เพื่อชี้แจง อธิบาย ให้ทราบถึงสิทธิ์ต่างๆ ตามกฎมาย
อีกทั้งเป็นการสำรวจความต้องการใช้สิทธิ์ตามมาตรา 33 และมาตรา 35
2.
โครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาธุรกิจสำหรับคนพิการตามมาตรา
35”
โดยทุกโครงการจะหลอมรวมพุ่งเป้าหมายกลับเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องการจ้างงานในที่สุด
เป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนแบบบูรณาการอย่างแท้จริง
3.
โครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อขจัดปัญหาการจ้างงานคนพิการแบบองค์รวมสำหรับสถานประกอบการและรัฐวิสาหกิจ”
เพื่อให้เกิดการรับรู้เข้าใจความพิการ
และเป็นการพัฒนาความต้องการแรงานคนพิการตามตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กรได้ (กระบวนการในข้อ
3-4 ได้รับรางวัลพิเศษ IAUD Award 2014 จากประเทศญี่ปุ่น)
4.
โครงการ “ฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการ
ตามมาตรา 35 เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงานกับสถานประกอบการ” โดยการเตรียมการสำหรับโครงการนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่มุ่งมั่นมีความประสงค์ต้องการรับคนพิการเข้าทำงานอย่างแท้จริง
เนื่องจากพบว่า คนพิการที่ผ่านการอบรมจากหลักสูตรที่ได้จากการตั้งใจทำกระบวนการตามโครงการที่
3 นั้น จะทำให้ได้หลักสูตรที่ตรงกับการพัฒนาความรู้ของคนพิการโดยเฉลี่ย 20-25% ให้ตรงกับสถานประกอบการนั้นๆ จึงควรดำเนินการตามแผนงาน 5 ปี
จึงจะรับคนพิการเข้าทำงานในองค์กรได้ประมาณ 80-100% ในที่สุด
(กระบวนการในข้อ 3-4 ได้รับรางวัลพิเศษ IAUD Award 2014 จากประเทศญี่ปุ่น)
5.
โครงการ “ตลาดสินค้าฝีมือคนพิการ PWD PRO”
ที่คัดเลือกสินค้าที่ผลิตโดยคนพิการและผู้ดูแลคนพิการจากทั่วประเทศมาจัดจำหน่ายอย่างเป็นระบบ
มีการตรวจสอบ สต๊อกสินค้า ใช้ระบบบาร์โค้ดในการซื้อขาย
โดยจะนำบูธทั้งออกจำหน่ายในพื้นที่ศูนย์การค้า และพลาซ่า ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
6.
โครงการ “ตัวอย่างการพัฒนากิจกรรมสำหรับคนพิการ
PAINTING-PRINTING-WRAPPING
สู่การมีรายได้อย่างเป็นระบบ”
ประกอบด้วยกิจกรรมต่อเนื่อง 1) สอนศิลปะวาดภาพให้คนพิการ 2)
จัดนิทรรศการแสดงภาพวาดฝีมือคนพิการ 3) คัดเลือกภาพเพื่อผลิตกระดาษห่อของขวัญ 4)
จัดฝึกอบรมคนพิการด้านการจัดกระเช้าและห่อของขวัญ และ 5) การตั้งบูธห่อของขวัญและจัดกระเช้าตามศูนย์การค้าต่างๆ
7.
โครงการ “ร้านค้าจำหน่ายสินค้า PWD PRODUCT” โดยรวมมือกับศูนย์การค้า
เพื่อจำหน่ายสินค้าที่มีความต้องการตามการตลาดทั่วไป
เพื่อเป็นตัวอย่างการประกอบอาชีพตามมาตรา 35 หัวข้อ
“การให้ใช้สถานที่จำหน่ายสินค้าและบริการ” เช่น
การจำหน่ายกล้องติดรถยนต์ที่ให้บริการติดตั้งโดยคนพิการ
การจำหน่ายปลั๊กไฟคุณภาพสูงที่มีการรับประกันตลอดชีพ เป็นต้น
8.
โครงการ “ส่งเสริมวิชาชีพช่างเทคนิคเพื่อการเป็นช่างเทคนิค
และเจ้าของกิจการ สำหรับคนพิการ” โดยการฝึกอบรมฝึกงานคนพิการในสายช่างเทคนิค
เช่น ช่างเครื่องปรับอากาศ ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์
ช่างสอบเทียบอุปกรณ์วัดคุมในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคนพิการในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังเป็นการช่วยอุดช่องว่างของการขาดแคลนช่างเทคนิควิชาชีพ
ที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาอยู่ เท่ากับเป็นการช่วยประเทศชาติไปพร้อมกัน
9.
โครงการ “งานนัดพบแรงงานคนพิการสำหรับสถานประกอบการภาคธุรกิจ”
ต่างๆ โดยต้องเป็นผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการตามข้อ 3
และสามารถเลือกใช้ทั้งมาตรา 33 และ 35 ควบคู่กัน
เพื่อให้การสัมภาษณ์คนพิการเข้าทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
ซึ่งจะส่งผลต่อการลดการลาออกจากงานง่ายของคนพิการ (ซึ่งขั้นตอนสำคัญในวันงานคือ
การคัดกรองความพิการแต่ละประเภทก่อนการสัมภาษณ์งาน)
10.
โครงการจัดตั้ง “กองทุนเพื่อการปฏิรูปคุณภาพชีวิคนพิการและผู้สูงอายุ”
โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่จะระดมเงินบริจาคจากคนพิการ และผู้สูงอายุ ที่ไม่ประสงค์จะรับเงินเบี้ยยังชีพ
และผู้มีจิตอาสาสมทบกองทุนฯ เป็นรายบุคคล เดือนละ 100 บาท หรือตามแต่ศรัทธา
เพื่อนำเงินทั้งหมดให้สถาบันการเงินบริหารจัดการในระยะเวลา 3-5 ปี
จึงจะนำผลตอบแทนมาปฏิรูปคุณภาพชีวิคนพิการและผู้สูงอายุ อย่างเป็นระบบ
วัตถุประสงค์:
1.
เพื่อเป็นการเผยแพร่สิทธิของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ
ตามกฎหมาย
2.
เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านความเข้าใจคนพิการ
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน
3.
เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นร่วมกันในการพัฒนาธุรกิจที่เหมาะสมให้กับคนพิการ
4.
เพื่อนำธุรกิจที่เหมาะสมให้กับคนพิการ
ไปนำเสนอให้กับผู้ประกอบการที่กำลังประสบปัญหาจ้างงานคนพิการ
5.
เพื่อขจัดปัญหาการจ้างงานคนพิการให้กับสถานประกอบการและรัฐวิสาหกิจ
อย่างเป็นระบบและยั่งยืน
6.
เพื่อจัดตั้ง
“กองทุนเพื่อการปฏิรูปคุณภาพชีวิคนพิการและผู้สูงอายุ” ให้ลุล่วง ภายในปี พ.ศ.2563
ผู้จัดทำโครงการ:
นายปรีดา
ลิ้มนนทกุล (กรรมการผู้จัดการ)
บริษัท
พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ จำกัด
อีเมล์: preeda.limnontakul@gmail.com
มือถือ:
086-314-7866
เว็บไซต์บริษัท: http://pwdoutsourcemanagement.blogspot.com
เฟสบุ๊คบริษัท: https://www.facebook.com/PWDOM-487675938089181